(ร่าง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร เป็นหลักสูตรใหม่ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทักษะ และความรู้ทางภาษาไทย สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อการสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และสังคม และยังเป็นหลักสูตรที่มุ่งให้บัณฑิตสามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของสังคม และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การบูรณาการด้านการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตน์
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร คือ การทำให้บัณฑิต ผู้สำเร็จการศึกษา มีความภาคภูมิใจ ตระหนักในคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาไทย เพราะภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของคนไทย บัณฑิตหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรม การสื่อสารสามารถประกอบอาชีพ ได้อย่างหลากหลายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และอาชีพอิสระ อีกทั้งสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้อีกด้วย
ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการประสานงานการพัฒนาหลักสูตรได้พัฒนา (ร่าง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนการพัฒนา เป็นไปตามที่ได้แสดงไว้ใน แบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรระดับปริญญาตรี และคณะกรรมการประสานงานการพัฒนาหลักสูตรได้ยึดแนวทางการพัฒนาหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอ (ร่าง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. ๒๕๕๑ ต่อสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัย จากการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ แล้ว
มหาวิทยาลัยจึงขอนำเสนอ (ร่าง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. ๒๕๕๑ ต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติ ต่อไป
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๓. แบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรระดับปริญญาตรี
๑. เห็นชอบอนุมัติ (ร่าง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. ๒๕๕๑
๒. สุดแต่จะสมควรพิจารณาเป็นประการใด
.........................................................................................................................................................................